Science

รายวิชาวิทยาศาสตร์

1.ย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ
                สีธรรมชาติเป็นทีที่ได้จากพืช สัตว์และแร่ธาติต่างๆ สามารถนำมาย้อมได้ทั้งแบบย้อมร้อนและแบบร้อนเย็น สีธรรมชาติเป็นสีที่ต้องอาศัยสารช่วยในการเร่งกระตุ้นช่วยให้สีออกเร็ว และให้สีติดแนบกับเส้นไหม ทำให้สีไม่ตกเวลาซัก
                ตำบลชุมแสง เป็นตำบลที่มีฐานทรัพยากรธรรมชาติ ป่าหัวไร่ปลายนาอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย ทุน ฐานเดิม คือภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่น สู่รุ่น ที่มีอยู่ในชุมชน บวกกับชุมชนแม่บ้าน บ้านสมบูรณ์ ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาลายผ้า และการย้อมผ้าให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยทุนเดิมที่มีอยู่นำมาปรับปรุง จนสามารถนำมาปรับปรุงแก้ไข นำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่า
                การย้อมสีธรรมชาติ เป็นการลดการใช้สารเคมี ที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ในระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง ที่เกิดจากการสะสมของสารเคมี จากการย้อมผ้าด้วยสีเคมี ที่มีกลิ่นฉุน แสบจมูก ทำให้เกิดอาการวิงเวียน เป็นโรคพิษสำแดง ไม่สามารถที่จะย้อมไหมต่อไปได้ จนทำให้กลุ่มสตรี แม่บ้านหันกลับมาย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เพราะสีธรรมชาติเป็นสีที่บริสุทธิ์ ไม่มีพิษต่อร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ และผ้าที่ได้มีความโดดเด่นเฉพาะ เวลาทอขึ้นเงา สีไม่ตก ใส่สบาย แต่ขั้นตอนการทำยุ่งยากและวุ่นวาย ต้องอาศัยทักษะ ความอดทน ความชำนาญ และประสบการณ์ ในการย้อมสีแต่ครั้งให้เหมือนกัน
                ปัจจุบันกลุ่มสตรีแม่บ้าน ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเด็ก กลุ่มเยาวชนในหมู่บ้านที่มีความสนใจในการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ โดยการพัฒนาเป็นผ้ามัดย้อม ให้เด็กมีจินตนาการ ออกแบบลาดลาย สีสัน ตามแนวความคิดของตนเอง สร้างสรรค์ผลงานลงบนแผ่นผ้า และอนุรักษ์รักษาภูมิปัญญาของชุมชนให้คงอยู่สืบไป
การจัดกลุ่มของสีธรรมชาติชนิดต่างๆ แยกเป็นโทนสี ดังนี้

โทนสีแดง  ได้จากครั่ง รากยอป่า  มะไฟ  แก่น  เมล็ดคำแสด  แก่นฝาง  เปลือกสมอ  ไม้เหมือด  เม็ดสะตีใบสัก  เปลือกสะเดา  ดอกมะลิวัลย์  แก่นกะหล่ำ  แก่นประดู่  เปลือกส้มเสี้ยว

โทนสีเหลือง  ได้จาก  หัวขมิ้นชัน  ขมิ้นอ้อย  แก่นไม้พุด  ดอกกรรณิการ์  รากฝาง  ใบมะขาม  ผลดิบมะตูม  เปลือกมะขามป้อม  เปลือกผลมังคุด  ดอกผกากรอง  เปลือกประโหด  แก่นเข  ใบเสนียด  แก่นแค  แก่นฝรั่ง  หัวไพร  แก่นสุพรรณิการ์  แกนต้นปีบ  ต้นมหากาฬ  ใบขี้เหล็ก  แก่นขนุน  ลูกมะตาย  ต้นสะตือ  ใบเทียนกิ่ง

โทนสีน้ำตาล  ได้จาก  เปลือกไม้โกงกาง  เปลือกสีเสียด  เปลือกพยอม  เปลือกผลทับทิม  เปลือกคาง  เปลือกโป่งขาว  เปลือกสนทะเล  เปลือกแสมดำ  เปลือกนนทรี  เปลือกฝาดแดง  เปลือกมะหาด  เปลือกเคี่ยม  เปลือกติ้วขน  ผลอาราง  แก่นคูณ

โทนสีน้ำเงิน  ได้จาก  ใบบวบ  ใบหูกวาง  เปลือกเพกา  เปลือกต้นมะริด  เปลือกสมอ  เปลือกกระหูด  ใบเลี่ยน  เปลือกสมอภิเภก  ใบตะขบ
โทนสีดำ  ได้จาก  ผลมะเกลือ  ผลสมอภิเภก  ใบกระเม็ง  ผลมะกอกเลื่อม  เปลือกรกฟ้าผลตับเต่า  เปลือกมะเขือเทศ

การย้อมผ้าสีธรรมชาติ
สีที่ได้จากธรรมชาติ เป็นความรู้ดั่งเดิมที่สืบทอดกันมาจากปู่ย่าตายาย แหล่งวัตถุดิบสีธรรมชาติยังสามารถหาได้จากต้นไม้ ใบไม้ ที่ให้สีสันสวยงามตามที่เราต้องการและหาได้ไม่ยาก ซึ่งปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ใช้วัสดุจากธรรมชาติกันมากขึ้น เพราะผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก และกรรมวิธีผลิตที่แตกต่างกัน ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีความสวยงามและหลากหลาย

สีย้อมธรรมชาติ
                การย้อมสีเขียวจากเปลือกต้นเพกา  เอาเปลือกเพกามาหั่น  หรือสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปต้ม 20 นาที  ช้อนเอาเปลือกออก  ต้มเถาถั่วแปบเอาแต่น้ำใสเติมลงไปใส่น้ำมะเกลือกเล็กน้อย  ใส่ปูนขาวและใบส้มป่อยผสมลงไป  ทิ้งไว้สักพัก  แล้วกรองให้เหลือแต่น้ำสีพร้อมที่จะย้อม  นำเอาน้ำย้อมตั้งไฟพออุ่น นำด้ายฝ้ายซึ่งซุบน้ำบิดพอหมาด  จุ่มลงในอ่างย้อม  ต้มต่อไปนาน  20  นาที จนได้สีที่ต้องการ  ยกด้ายฝ้ายออก  ซักน้ำสะอาดใส่ราวกระตุกตากจนแห้ง  จะได้สีเขียวตามต้องการ
                การย้อมสีดำจากเปลือกสมอ  ให้เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งจนงวดพอสมควร  รินเอาแต่น้ำใส่หม้อดิน  เอาด้ายฝ้ายที่เตรียมไว้ลงย้อมขณะที่น้ำสียังร้อนอยู่  จะได้สีดำแกมเขียวเข้ม  ถ้าต้องการได้สีเขียว  ใช้ด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมสีครามมาย้อมจะได้สีเขียวตามต้องการ
                การย้อมสีเขียวจากเปลือกสมอ  เอาเปลือกสมอมาต้มเคี่ยวให้แห้งพอสมควร  รินเอาแต่น้ำใส่หม้อดิน  เอาด้ายฝ้ายที่ผ่านการย้อมครามมาครั้งหนึ่งแล้ว  ลงไปย้อมในน้ำสีที่ยังร้อนอยู่  ต้มต่อไปประมาณ  1  ชั่วโมง  หมั่นกลับด้ายฝ้ายไปมา  เพื่อให้สีดูดซึมอย่างสม่ำเสมอ  พอได้สีตามต้องการยกด้ายฝ้ายขึ้นกระตุก ตากให้แห้ง  จะได้สีเขียวตามต้องการ
2.การทำกระติบข้าว



      
              ภูมิปัญญา คือ แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่า แสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคลและสังคมซึ่งได้สั่งสมปฏิบัติสืบต่อกันมา
กระติบข้าวของชาวอีสานเป็นภาชนะเก็บอาหารที่ทางคุณค่ามากด้วยภูมิปัญญา เก็บความร้อนได้ดี ในขณะที่ยอมให้ไอน้ำระเหยออกไปได้ ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุภายในกระติบไม่แฉะด้วยไอน้ำ ต่างจากกระติกน้ำแข็ง ที่พ่อค้าแม่ค้าข้าวเหนียวส้มตำบางร้านนำมาใช้บรรจุข้าวเหนียวเพื่อรอขายซึ่งจำเป็นต้องใช้ผ้าขาวรองอีกทีก่อนบรรจุข้าวเหนียว แต่เม็ดข้าวที่อยู่รอบขอบกระติกก็ยังแฉะอยู่ดี
เคล็ดลับของการสารกระติบข้าวอยู่ที่การสานภาชนะเป็นสองชั้น ชั้นในสุดจะสานด้วยตอกไม้ให้มีความห่างเล็กน้อยเพื่อให้ไอน้ำระเหยออกจากข้าวไปสู่ช่องว่างภายในก่องหรือกระติบข้าวได้ ชั้นนอกสุดจะสานด้วยตอกที่มีความชิดแน่นกว่าเพื่อเก็บความร้อนเอาไว้ ไอน้ำที่มีความร้อนอยู่ภายในช่องว่างนี้จะช่วยทำให้ข้าวเหนียวที่อยูภายในกระติบยังคงความร้อนได้อีกนาน โดยเมล็ดข้าวจะไม่มีไอน้ำเกาะ
ฝากระติบและตัวกระติบจะมีลักษณะเหมือนกัน เพียงแต่มีขนาดที่ต่างกันเล็กน้อย สามารถสวมใส่กันได้พอดี ในส่วนตัวกระติบจะมีฐานรองทำจากก้านตาลขดเป็นวงกลม มีขนาดเล็กกว่าตัวกระติบเล็กน้อย ยึดด้วยหวายให้ติดกับตัวกระติบ
           กระติบข้าวเป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียว ทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว

เหตุผลที่ทำให้นิยมใช้กระติบข้าวบรรจุข้าวเหนียว
1.       ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะ  ไม่ติดมือ
2.       พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่ง
วัสดุที่ใช้ทำกระติบข้าว
1. ไม้ไผ่บ้าน                           2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่                       4.   กรรไกร
5. มีดโต้                                  6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)    8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก                       10. เครื่องกรอด้าย
                                              ขั้นตอนการสานกระติบข้าว
           1. การเตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวนั้น ควรมีอายุไม่เกินหนึ่งปี โดยเลือกไผ่ที่โตเพียงฝนเดียวมาทำก่องข้าวหรือสานกระติบ สำหรับไผ่ที่ใช้ทำกระติบได้ดีที่สุดจะมีอายุประมาณ 4-5 เดือน
การเลือกไม้ไผ่ จะเลือกไม้ที่มีข้อปล้องยาวและตรง มีผิวเรียบเป็นมันนำมาตัดข้อปล้องทางหัวและท้ายออก โดยใช้เลื่อยตัดรอบไม้ไผ่เพื่อป้องกันผิวไผ่ฉีก ขนาดของปล้องไม้ไผ่หนึ่ง ควรมีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงใช้มีดโต้ผ่าออกเป็นชิ้นๆ แล้วใช้มีดตอกจักเป็นตอกขูดเปลือกสีเขียว ของมันออกและตากแดดเพื่อเก็บรักษาเอาไว้ก่อนจะทำงานสาน


            3. เมื่อได้ตอกมาประมาณ 100-150 เส้นแล้ว ก็จะเริ่มสานกระติบข้าวได้ บางครั้งผู้สานต้องการเพิ่มลวดลายในการสานกระติบก็จะย้อมสีตอกก่อนก็มี ส่วนใหญ่จะใช้สีผสมลงในกระบอกไม้ไผ่แล้วนำมาย้อมตอกให้เป็นสีสันตามที่ตัวเองต้องการเมื่อลงมือสานมักจะเริ่มต้นสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร เมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ 3 เซนติเมตรให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียน




การสานกระติบให้ประกบซ้อนกันเป็นสองชั้น ก็เพื่อช่วยเก็บความร้อนให้อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งพอที่จะทำให้ได้กินข้าวเหนียวที่ไม่แข็งเกินไป นอกจากนั้นกระติบข้าวที่ทำจากไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับเอาหยาดน้ำที่อยู่ภายในที่จะเป็นตัวทำให้ข้าวเปียกหรือแฉะได้อีกด้วย
               4. การขึ้นลายกระติบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของคนที่สานว่าต้องการใช้ลายอะไร เพราะแต่ละลายจะขึ้นต่างกัน ลายกระติบที่นิยมสาน คือ ลายข้างกระแตสองยืนและสามยืนการขึ้นลายสองนั้น จะยกตอก 2 เส้นแล้วทิ้ง 2 เส้น และเมื่อขึ้นลายไปได้ประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวของตอกแล้ว ก็จะสานต่อด้วยลายสามนอนหรือลายคุบ จากนั้นจึงสานด้วยลายสองยืนอีกครั้งเพื่อความแข็งแรงของกระติบข้าว จากนั้นจึงม้วนเก็บชายตอกด้วยการพับครึ่งเข้าไปข้างในทั้งสองข้างและบีบเพื่อตกแต่งให้สวยงาม
               5. ส่วนก้นของกระติบข้าวนั้นจะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกันเข้าแล้วผูกติดกับส่วนตัวกระติบ เรียกขั้นตอนนี้ว่า อัดตุ๋ซึ่งมีการเย็บอยู่สองวิธีคือ การเย็บโดยใช้หวาย กับเย็บด้วยการใช้ด้ายเย็บ แต่การเย็บด้วยหวายนั้นให้ความสวยงามตามธรรมชาติ และมีความแข็งแรงกว่าการเย็บด้วยด้าย แต่ปัญหาก็คือหวาย จะหายากในปัจจุบัน
                6. ฐานของกระติบ ซึ่งคนอีสานจะเรียกว่า ตีนติบข้าวเป็นส่วนหนึ่งมี่ต้องรับน้ำหนักและจำเป็นที่จะต้องทำให้แข็งแรง ดังนั้นส่วนใหญ่จึงใช้ก้านตาลมาเหลาแล้วโค้งให้เป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นกระติบข้าว ก้านตาลที่ใช้จะต้องตรงไม่คดเบี้ยวและมีความยาวประมาณ 1 เมตรขึ้นไป นำก้านตาลที่ตัดได้มาเหลาเอาหนามตาลออก ผ่าตามความยาวของก้านตาล ซึ่งก้านตาล 1 ก้านใหญ่สามารถทำตีนกระติบได้ 1-2 อัน จากนั้นจึงผ่าเกลาให้เรียบเสมอกัน นำมาม้วนแล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยใช้เวลาประมาณ 15-20 วันเป็นอย่างน้อย
                 7. ฝากระติบข้าวนั้นจะสานเช่นเดียวกับตัวกระติบเพียงแต่ให้ใหญ่กว่าเพื่อสวมครอบปิดเปิดได้ กระติบข้าวที่สานเสร็จแล้วไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น เพราะจะทำให้ขึ้นราได้ง่ายและมีมอดเจาะ และควรเก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
                   ข้อเสนอแนะ1. การเลือกไม่ไผ่ควรเลือกไม้ไผ่ที่มีปล้องยาวอายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี
2. การจักตอกต้องมีความกว้าง ความยาวเท่าๆ กัน ทุกเส้น เพื่อจะได้กระติบรูปร่างสวยงาม
3. ก่อนที่จะเหลาหรือขูดเส้นตอก ให้นำเส้นที่จักแล้วแช่น้ำประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นตอกอ่อนนุ่มเพื่อจะได้ขูดเหลาได้ง่ายขึ้น แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อราก่อนลงมือสาน
4. การสานเป็นลวดลายต่างๆ ที่น่าสนใจจะสามารถจำหน่ายได้ในราคาดีขึ้น
5. สามารถประยุกต์เป็นของชำร่วยแบบต่างๆ ได้มากมาย เช่น กล่องใส่กระดาษชำระ กระเป๋า แจกัน
6. การใช้สีย้อมไหมมาย้อมเส้นตอกจะทำให้ลวดลายสีสันสวยงามขึ้น
7. การตกแต่งฝาบนด้วยการทำคิ้วจะทำให้มีความสวยงามและคงทน

นี่คือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะเพียงหัตถกรรมพื้นบ้านธรรมดาเช่นนี้ กลับกลายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งให้กับชุมชน อนาคตงานจักสานจะดำเนินไปในทิศทางใด ก็ขึ้นอยู่กับคนรุ่นใหม่ที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้
         ข้อมุลเพิ่มเติม
        ในกรณีต้องการเก็บอุณหภูมิให้นานยิ่งขึ้นมีการดัดแปลงใช้กระดาษฟอยด์เสริมระหว่างชั้นตามรูป

3.การตำสาด
วิธีดำเนินงาน
วัสดุ/อุปกรณ์
1.ต้นกก/ต้นไหล
2.ปอแก้ว(ปอ/เชือกที่ใช้สำหรับทอเสื่อ)
3.กรรไกร
4.มีด
5.ฟืม
6.ไม้สำหรับสอด(ขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เมตร)


ขั้นเตรียม
-ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทอเสื่ออย่างละเอียดและเตรียมหาความรู้เพิ่มเติมพร้อมทั้งเขียนโครงงานที่จัดทำอย่างละเอียด
-นำเสนอโครงงานให้ครูตรวจสอบ
-จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จะทำเสื่อ
-เริ่มลงมือปฏิบัติ

1.นำมีดหรือเคียวตัดหรือเกี่ยวต้นกกมา แล้วนำมีดสอยตามยาวโดยแบ่งต้นกก 1 ต้นต่อ2-3ชิ้น ตามขนาดของต้นกกไม่ตัดบาง-หนาเกินไป





2.นำต้นกกที่สอยแล้วไปผึ่งแดดให้แห้งพอประมาณ







3.นำปอแก้วหรือปอที่ใช้สำหรับทอเสื่อสอดเข้ารูฟืมตามภาพ







4.นำต้นกกสอดเข้าระหว่างกลางของปอแก้วชั้นบนและชั้นล่างของปอแก้ว





5.จัดต้นกกที่สอดเข้าแล้วให้ตรง









6.นำฟืมมากระทบต้นกกที่จัดไว้2-3ครั้ง





7.พับขอบโดยนำกกเส้นในไขว้ทับเส้นนอกแล้วนำปลายเส้นด้านในพับออกด้านนอก







8.พับแบบข้อ 6สลับข้างซ้ายขวาไปเรื่อยๆ







9.เมื่อทอทอเกือบถึงปลายเส้นปอแก้วแล้วให้เหลือปลายเส้นปอแก้วไว้ประมาณ2.50 เซนติเมตรพอให้มัดกันได้









10.เมื่อตัดเสื่อออกจากฟืมแล้วให้นำปลายของเส้นปอแก้วมัดกันก็จะได้เสื่อไว้ใช้ตามต้องการ




            2. เมื่อเหลาไม้ไผ่จนมีขนาดเหลือความหนาประมาณ 0.05 เชนติเมตร ก็จะขูดเสี้ยนไม้ออก เพื่อให้ตอกมีความเรียบและอ่อนบางที่สุด กระติบที่ได้ก็จะสวย และเวลาสานถ้าหากว่าเป็นตอกอ่อนก็จะทำให้สานง่ายไม่เจ็บมืออีกด้วย